สภาพทั่วไป
องค์การบริหารส่วนตำบลนากระแซง เป็น องค์การบริหารส่วนตำบลขนาดกลาง เป็นองค์ปกครองท้องถิ่น 1 ใน 17 องค์กรปกครองท้องถิ่น ในเขตปกครองของ อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี ตำบลนากระแซงในอดีต ขึ้นกับ ตำบลนาเจริญ อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี ต่อมา ในปี พ.ศ. 2526 ได้แยกออกมาตั้งเป็น ตำบลนากระแซง ปัจจุบันตำบลนากระแซง มีหมู่บ้านในเขตปกครอง ทั้งสิ้น จำนวน 16 หมู่บ้าน ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลนากระแซง ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ของอำเภอเดชอุดม ห่างจากที่ว่าการอำเภอเดชอุดม ระยะทางประมาณ 16 กิโลเมตร และจังหวัดอุบลราชธานี ระยะทางประมาณ 60 กิโลเมตร
เนื้อที่
องค์การบริหารส่วนตำบลนากระแซง มีเนืื้อที่ประมาณ 96.60 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุม 16 หมู่บ้าน
อาณาเขต
- ทิศเหนือ ติดต่อกับ ตำบลนาเจริญ อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี
- ทิศใต้ ติดต่อกับ ตำบลทุ่งเทิง อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับ ตำบลสมสะอาด อำเภอเดชอุดม และตำบลหนองอ้ม อำเภอทุ่งศรีอุดม จังหวัดอุบลราชธานี
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับ ตำบลโคกสว่าง อำเภอสำโรง จังหวัดอุบลราชธานี
ลักษณะภูมิเทศ
ลักษณะภูมิประเทศของตำบลนากระแซง มีภาพพื้นที่ ทั่วไป เป็นที่ราบสูงอุดมสมบูรณ์ เหมาะสำหรับการทำนา และการเกษตรอื่นๆ
ลักษณะภูมิอากาศ
ลักษณะภูมิอากาศของตำบลนากระแซง มีลักษณะภูมิอากาศ มี 3 ฤดู ได้แก่
- ฤดูร้อน ช่วงระยะเวลาตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ ถึงเดือนเมษายน
- ฤดูฝน ช่วงระยะเวลาตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ถึงเดือนตุลาคม
- ฤดูหนาว ช่วงระยะเวลาตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน ถึงเดือนมกราคม
ลักษณะของดิน
สภาพทั่วไปของดิน มีลักษณะเป็นดินร่วนปนทราย ประกอบด้วยทราย 60% ดินร่วน 40% เหมาะกับการทำการเกษตร
ลักษณะของแหล่งน้ำ
พื้นที่รับผิดชอบตำบลนากระแซง มีลำห้วย หนองน้ำ คลองบึง ไหลผ่านแบ่งเป็นสายสำคัญ ดังนี้
แหล่งน้ำตามธรรมชาติ
- ห้วยข้าวสาร ตั้งอยู่ที่ บ้านเตย หมู่ 8 มีฝายคอนกรีต ขนาดสันฝายยาว 20.00 เมตร สูง 3 เมตร ความยาว อาคารตามลำน้ำประมาณ 58 เมตร ความจุ ต้นฤดูแล้ง ประมาณ 153,800 ลูกบาตรเมตร ใช้เพื่ออุปโภคบริโภค เสริมการเพาะปลูกฤดูแล้ง มีพื้นที่ได้รับผลประโยชน์ประมาณ 750 ไร่ ประมาณ 60 ครัวเรือน
- ห้วยส้มโฮง ตั้งอยู่ที่ บ้านนากระแซง หมู่ 1 ขนาดกว้าง 12 เมตร ยาว 5,000 เมตร ลึก 2.50 เมตร ความจุในการเก็บน้ำ 150,000 ลูกบาตรเมตร ใช้เพื่อปลูกพืชฤดูแล้ง พื้นที่เพาะปลูกเฉลี่ยประมาณ 65 ไร่
- ห้วยพาก ตั้งอยู่ที่ บ้านดอนกลาง หมู่9 ขนาดกว้าง 12 เมตร ยาว 3,000 เมตร ลึก 2.50 เมตร ความจุในการเก็บน้ำ 90,600 ลูกบาตรเมตร ใช้เพื่อปลูกพืชฤดูแล้ง พื้นที่เพาะปลูกเฉลี่ยประมาณ 40 ไร่
- ห้วยดวน ตั้งอยู่ที่ บ้านคำประเสริฐ หมู่ 12 ฝายคอนกรีต ขนาดกว้าง 12 เมตร ยาว 3,500 เมตร ลึก 2.50 เมตร ความจุในการเก็บน้ำ 105,000 ลูกบาตรเมตร ใช้เพื่อปลูกพืชฤดูแล้ง พื้นที่เพาะปลูกเฉลี่ยประมาณ 38 ไร่
- ห้วยบก ตั้งอยู่ที่ บ้านหนองเงินฮ้อย หมู่ 7 ขนาดกว้าง 14 เมตร ยาว 5,500 เมตร ลึก 3.00 เมตร ความจุในการเก็บน้ำ 231,000 ลูกบาตรเมตร ใช้เพื่อปลูกพืชฤดูแล้ง พื้นที่เพาะปลุกเฉลี่ยประมาณ 63 ไร่
- ห้วยร่องวัวตาย ตั้งอยู่ที่ บ้านโนนสวาง หมู่ 4 ขนาดกว้าง 12 เมตร ยาว 4,000 เมตร ลึก 2.50 เมตร ความจุในการเก็บน้ำ 120,000 ลูกบาตรเมตร ใช้เพื่อปลูกพืชฤดูแล้ง พื้นที่เพาะปลูกเฉลี่ยประมาณ 25 ไร่
- ห้วยเต่างอย ตั้งอยู่ที่ บ้านไทยวัฒนา หมู่ 3 ขนาดกว้าง 12 เมตร ยาว 6,700 เมตร ลึก 2.50 เมตร ความจุในการเก็บน้ำ 201,000 ลูกบาตรเมตร ใช้เพื่อปลูกพืชฤดูแล้ง พื้นที่เพาะปลูกเฉลี่ยประมาณ 57 ไร่
- ห้วยอาราง ตั้งอยู่ที่ บ้านหม้อทอง หมู่ 6 ขนาดกว้าง 18 เมตร ยาว 6,500 เมตร ลึก 3.50 เมตร ความจุในการเก็บน้ำ 409,500 ลูกบาตรเมตร ใช้เพื่อปลูกพืชฤดูแล้ง พื้นที่เพาะปลูกเฉลี่ยประมาณ 80 ไร่
แหล่งน้ำที่มนุษย์สร้างขึ้น
- หนองใหญ่ ตั้งอยู่ที่ บ้านนากระแซง หมู่ 13 ขนาดกว้าง 50 เมตร ยาว 120 เมตร ลึก 4.50 เมตร ปริมาณความจุ 27,000 ลูกบาตรเมตร ใช้ประโยชนในการอนุรักษ์พันธุสัตว์น้ำจืด ประชากรที่ได้รับประโยชน์ ในการใช้น้ำ บ้านนากระแซง หมู่ 13 บ้านนากระแซง หมู่ 2 บ้านนากระแซง หมู่ 1
- หนองน้ำบ้านหนองแต้ ตั้งอยู่ที่ บ้านหนองแต้ หมู่ 5 ขนาดกว้าง 50 เมตร ยาว 100 เมตร ลึก 3.50 เมตรปริมาณความจุ 17,500 ลูกบาตรเมตร ใช้ประโยชนในการอนุรักษ์พันธุสัตว์น้ำจืด ประชากรที่ได้รับประโยชน์ ในการใช้น้ำ บ้านหนองแต้ หมู่ 5
- หนองน้ำบ้านหม้อทอง ตั้งอยู่ที่ บ้านหม้อทอง หมู่ 6 ขนาดกว้าง 120 เมตร ยาว 200 เมตร ลึก 3.50 เมตรปริมาณความจุ 84,000 ลูกบาตรเมตร ใช้ประโยชนในการอนุรักษ์พันธุสัตว์น้ำจืด ประชากรที่ได้รับประโยชน์ ในการใช้น้ำ บ้านหม้อทอง หมู่ 6
- หนองทับควายบ้านนากระแซง ตั้งอยู่ที่ บ้านนากระแซง หมู่ 16 ขนาดกว้าง 75 เมตร ยาว 210 เมตร ลึก 3.50 เมตรปริมาณความจุ 55,125 ลูกบาตรเมตร ใช้ประโยชนในการอนุรักษ์พันธุสัตว์น้ำจืด และปลูกพืชฤดูแล้ง ประชากรที่ได้รับประโยชน ในการใช้น้ำ บ้านนากระแซง หมู่ 16
- หนองน้ำบ้านหนองเงินฮ้อย ตั้งอยู่ที่ บ้านหนองเงินฮ้อย หมู่ 7 ขนาดกว้าง 70 เมตร ยาว 120 เมตร ลึก 2.00 เมตรปริมาณความจุ 16,800 ลูกบาตรเมตร ใช้ประโยชนในการอนุรักษ์พันธุสัตว์น้ำจืดและปลูกพืชฤดูแล้ง ประชากรที่ได้รับประโยชน ในการใช้น้ำ บ้านหนองเงินฮ้อย หมู่ 7
ลักษณะของไม้/ป่าไม้
ป่าไม้ในเขตพื้นที่ตำบลนากระแซง มีลักษณะเป็นไม้ยืนต้น แบบป่าโปร่งผสม ทรัพยากรธรรมชาติมีอยู่น้อย ไม่สามารถนำมาเป็นผลผลิต หรือสร้างรายได้แก่ประชาชนได้
เขตการปกครอง
เขตพื้นที่รับผิดชอบ องค์การบริหารส่วนตำบลนากระแซง มีหมู่บ้านในเขตปกครอง ทั้งหมด 16 หมู่บ้าน เต็มส่วนทั้ง 16 หมู่บ้าน
เขตการเลือกตั้ง
การเลือกตั้งผู้บริหารและสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล ตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 และที่แก้ไขเพิ่มเติมถึงปัจจุบัน มีจำนวน 16 หมู่บ้าน แบ่งเขตเลือกตั้งเป็น 17 หน่วยเลือกตั้ง (เนื่องจากหมู่ที่ 7 มีประชากรหนาแน่นได้แบ่งเขตเลือกตั้งเป็น 2 เขตเลือกตั้งใน 1 หมู่บ้าน)
ประชากร
องค์การบริหารส่วนตำบลนากระแซง มีประชากรในเขตพื้นที่รับผิดชอบ ทั้งสิ้น 13,548 คน แยกเป็น ชาย 6,792 หญิง 6,756 คน มีจำนวนหลังคาเรือน ทั้งสิ้น 4,291 หลังคาเรือน ดังนี้
หมู่ที่ | ชื่อหมู่บ้าน | ชาย | หญิง | ครัวเรือน |
---|---|---|---|---|
1 | บ้านนากระแซง | 468 | 436 | 281 |
2 | บ้านนากระแซง | 438 | 439 | 283 |
3 | บ้านไทยวัฒนา | 631 | 583 | 435 |
4 | บ้านโนนสวาง | 399 | 403 | 227 |
5 | บ้านหนองแต้ | 557 | 595 | 361 |
6 | บ้านหม้อทอง | 509 | 498 | 360 |
7 | บ้านหนองเงินฮ้อย | 736 | 719 | 497 |
8 | บ้านเตย | 528 | 571 | 371 |
9 | บ้านดอนกลาง | 657 | 674 | 328 |
10 | บ้านหนองไฮ | 413 | 229 | 254 |
11 | บ้านอุดมพัฒนา | 242 | 226 | 206 |
12 | บ้านคำประเสริฐ | 208 | 191 | 87 |
13 | บ้านนากระแซง | 414 | 401 | 245 |
14 | บ้านไร่ศรีสุข | 221 | 200 | 152 |
15 | บ้านป่าติ้ว | 151 | 131 | 80 |
16 | บ้านนากระแซง | 220 | 244 | 124 |
ที่มา : ข้อมูลจากฝ่ายทะเบียนราษฎร์ อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี ณ วันที่ 30 กันยายน 2559
การศึกษา
องค์การบริหารส่วนตำบลนากระแซง มี โรงเรียนประถมศึกษา จำนวน 9 แห่ง ดังนี้
- โรงเรียนบ้านนากระแซง
- โรงเรียนพิชัยศึกษา
- โรงเรียนบ้านโนนสวาง
- โรงเรียนบ้านหนองแต้
- โรงเรียนบ้านหม้อทอง
- โรงเรียนบ้านหนองเงินฮ้อย
- โรงเรียนบ้านเตย
- โรงเรียนบ้านดอนกลาง
- โรงเรียนบ้านหนองไฮ
องค์การบริหารส่วนตำบลนากระแซง มี โรงเรียนมัธยมศึกษาศึกษา จำนวน 1 แห่ง ดังนี้
- โรงเรียนนากระแซงศึกษา
องค์การบริหารส่วนตำบลนากระแซง มี ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กก่อนวัยเรียน จำนวน 4 แห่ง ดังนี้
- ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กก่อนวัยเรียนบ้านหนองเงินฮ้อย
- ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กก่อนวัยเรียนบ้านหนองไฮ
- ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กก่อนวัยเรียนบ้านนากระแซง
- ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กก่อนวัยเรียนบ้านหนองแต้
การสาธารณสุข
องค์การบริหารส่วนตำบลนากระแซง มีหน่วยพยาบาล ที่ให้บริการแก่ประชาชนในเขตพื้นที่ จำนวน 2 แห่ง ดังนี้
- โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนากระแซง หมู่ที่ 1
- โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองเงินฮ้อย หมู่ที่ 7
อาญากรรม
ในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลนากระแซง มีสถิติการเกิดเหตุอาชญากรรมเกิดขึ้นน้อยมาก ประชาชนมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินในระดับที่ดี
การสังคมสงเคราะห์
องค์การบริหารส่วนตำบลนากระแซงได้ดำเนินการด้านสงคมสังเคราะห์ ดังนี้
- ดำเนินการจ่ายเบี้ยยังชีพให้กับผู้สูงอายุ ผู้พิการ และผู้ป่วยเอดส์
- รับลงทะเบียนและประสานโครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด
- ประสานการทำบัตรผู้พิการ
- ตั้งโครงการฝึกอาชีพแก่เยาวชน และประชาชนทั่วไป
- ตั้งโครงการโรงเรียนผู้สูงอายุ
- ตั้งโครงการสานสัมพันธ์ในครอบครัว
- ตั้งโครงการปรับปรุงซ่อมแซมบ้านคนจน
การคมนาคมขนส่ง
ถนนทางหลวงหมายเลข 24 โชคชัย - เดชอุดม, ถนนทางหลวงชนบท, นอกจากที่กล่าวมาแล้ว ยังมีสายย่อยๆ ในพื้นที่อีกหลายสาย อาทิ
- ถนนบ้านนากระแซง หมู่ 1 – บ้านป่าโมง ขนาดกว้าง 8 เมตร ยาว 13 กม. ประชากรที่ได้รับประโยชน์ ชาวบ้านตำบลนากระแซง ตำบลนาเจริญ ตำบลป่าโมง
- ถนนบ้านนากระแซง หมู่ 16 – บ้านสี่แยก ขนาดกว้าง 5 เมตร ยาว 4,500 เมตร ประชากรที่ได้รับประโยชน์ บ้านนากระแซง หมู่ 16 - บ้านสี่แยก ตำบลนาเจริญ
- ถนนบ้านนากระแซง หมู่ 2 – บ้านหนองไฮ หมู่ 10 ขนาดกว้าง 6 เมตร ยาว 4,500 เมตร ประชากรที่ได้รับประโยชน์ บ้านนากระแซง หมู่ 2 บ้านโนนสวาง หมู่ 4 บ้านดอนกลาง หมู่ 9 บ้านหนองไฮ หมู่ 10 (ทางเชื่อมระหว่างตำบลนากระแซง อำเภอเดชอุดม ถึงตำบลโคกสว่าง อำเภอสำโรง)
- ถนนบ้านนากระแซง หมู่13 – บ้านหนองเงินฮ้อย หมู่ 7 ขนาดกว้าง 6 เมตร ยาว 4,800 เมตร ประชากรที่ได้รับประโยชน์ บ้านนากระแซง หมู่ 13 – บ้านหนองเงินฮ้อย หมู่ 7
ไฟฟ้า
ปัจจุบันในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลนากระแซง มีไฟฟ้าใช้ทุกครัวเรือน จำนวน 16 หมู่บ้าน คิดเป็น 80 เปอร์เซ็นต์ ปัญหาที่มีในพื้นที่คือไฟฟ้าส่องสว่างตามทางสาธารณะยังไม่สามารถดำเนินการได้ทั้งหมด
การประปา
ปัจจุบันในพื้นที่ องค์การบริหารส่วนตำบลนากระแซง มีระบบประปาหมู่บ้าน ใช้ครอบคลุมทุกครัวเรือน คิดเป็น 100 เปอร์เซ็นต์ แต่มีปัญหา คือ การไหลของน้ำไม่เพียงพอต่อความต้องการของประชาชนในการอุปโภค บริโภค
โทรศัพท์
องค์การบริหารส่วนตำบลนากระแซง มีโทรศัพท์สาธารณะในพื้นที่ จำนวน 10 แห่ง
การเกษตร
ประชากรในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลนากระแซง ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพด้านการเกษตร อาทิ ทำนา สวนฟักทอง สวนพริก สวนข้าวโพด ฯลฯ เพื่อเศรษฐกิจ อาทิ ข้าว ฟักทอง พริก ข่าวโพด ปอ ไม้ผล ไม้ยืนต้น
- ปลูกข้าวนาปี พันธุ์ กข 15, กข 105
- ปลูกพืชฤดูแล้ง เช่น เดือน พฤศจิกายน – มิถุนายน ของทุกปี เช่น ฟักทอง, พริก,ข้าวโพด
การบริการ
- ปั๊มน้ำมัน 2 แห่ง
- ร้านขายวัสดุก่อสร้าง 41 แห่ง
กลุ่มอาชีพ
- กลุ่มสตรีตัดเย็บผ้าบ้านไทยวัฒนา หมู่ที่ 3 (ตัดเย็บเสื้อผ้า)
- กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการเกษตร หมู่ที่ 5 (จักสาน /ทอเสื่อ/หวด)
- กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านหม้อทอง หมู่ที่ 6 (แปรรูปข้าวกล้องงอก)
- กลุ่มแม่บ้านเพื่อการผลิต หมู่ที่ 7 (ทอผ้าแพรขิดและทอเสื่อ)
- กลุ่มพัฒนาอาชีพตรี หมู่ที่ 9 (ทอผ้าห่มไหมพรม/ทอเสื่อปิกนิ๊กและสวิง)
- กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต หมู่ที่ 10 (ทอเสื่อจากใบเตย)
- กลุ่มแม่บ้านทอเสื่อหนองไฮ หมู่ที่ 10 (ทอเสื่อจากใบเตย)
- กลุ่มพัฒนาอาชีพสตรี หมู่ที่ 13 (ทอผ้าซิ่น/ผ้าขาวม้า)
- กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการเกษตร หมู่ที่ 16 (ผลิตทอเสื่อกก/หวด)
การศาสนา
ประชาชนในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลโนนกลาง มีผู้ที่นับถือ ศาสนาพุทธ ร้อยละ 98
- วัด จำนวน. 14 แห่ง
- ที่พกสงฆ์ จำนวน 6 แห่ง
- โบสถ์ (คริสต์) จำนวน 1 แห่ง
ประเพณี
- เดือนห้า-สงกรานต์
- เดือนหก-บุญบั้งไฟ
- เดือนเจ็ด-บุญซำฮะ
- เดือนสี่-บุญเผวส
- เดือนหก-บุญบั้งไฟ
- เดือนเจ็ด-บุญซำฮะ
- เดือนแปด-บุญเข้าพรรษา
- เดือนเก้า-บุญข้าวประดับดิน
- เดือนสิบ-บุญข้าวสาก
- เดือนสิบเอ็ด-บุญออกพรรษา
- เดือนสิบสอง-บุญกฐิน
ภูมิปัญญาท้องถิ่นและภาษาถิ่น
ประชาชนในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลนากระแซง ได้อนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นไว้ ได้แก่ การทำเครื่องจักรสาน การทอผ้าไหม ทอผ้ากาบบัว หมอพราหมณ์ ศิลปะดนตรี (หมอแคน หมอลำ)
ประชาชนในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลนากระแซง มีภาษาท้องถิ่น คือ ภาษาอีสาน (ลาว)
สินค้าพื้นเมืองและของที่ระลึก
ได้แก่ ผ้ากาบบัว การทอผ้ากาบบัว การทอผ้าห่ม การทอเสื่อ การทำเครื่องจักสาน ประกอบด้วย
- กลุ่มสตรีตัดเย็บผ้าบ้านไทยวัฒนา หมู่ที่ 3 (ตัดเย็บเสื้อผ้า)
- กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการเกษตร หมู่ที่ 5 (จักสาน /ทอเสื่อ/หวด)
- กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านหม้อทอง หมู่ที่ 6 (แปรรูปข้าวกล้องงอก)
- กลุ่มแม่บ้านเพื่อการผลิต หมู่ที่ 7 (ทอผ้าแพรขิดและทอเสื่อ)
- กลุ่มพัฒนาอาชีพตรี หมู่ที่ 9 (ทอผ้าห่มไหมพรม /ทอเสื่อปิกนิ๊กและสวิง)
- กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต หมู่ที่ 10 (ทอเสื่อจากใบเตย)
- กลุ่มแม่บ้านทอเสื่อหนองไฮ หมู่ที่ 10 (ทอเสื่อจากใบเตย)